วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

รูปแบบการนําเสนอภาพโฆษณา+การใช้ภาพที่ไม่คาดคิด

1.ภาพที่มีขนาดไม่ปกติ

2.อุปมาทางการมองเห็น


3.การใช้ภาพเหนือจริง

4. การสร้างความผิดปกติจากของจริง

5.การรวมกันเข้าของสองสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกัน



6.การใช้มุมกล้องแทนสายตาผู้ดูหรือผู้ถ่าย




7.การล้อเลียน





สถานที่ฝึกงาน

บริษัท Search Entertainament จำกัด

1. ภาพขนาดไม่ปกติ


2.การอุปมาทางการมองเห็น


3.ภาพเหนือจริง

1. ชื่อเรื่อง ( Title )บริษัท Search Entertainment จำกัด

2. ข้อมูลเบื้องต้น ( Background )

ประวัติความเป็นมา
SEARCH ENTERTAINMENT เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2537 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก
1.0 ล้านบาท โดยมีคุณวิบูลย์ ลีรัตนขจร และคุณจอนนี่ แอนโฟเน่ เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง ต่อมาภายหลัง ได้มีผู้เข้าร่วมลงทุนเพิ่มเติมคือ คุณธวัชชัย สัจจกุล, คุณจิระศักดิ์ สนธิวรชัย และได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 3.0 ล้านบาท และเพื่อเป็นการขยายงานธุรกิจ ด้านผลิตรายการโทรทัศน์, งาน Public Presentation ในปี 2547 ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 28.0 ล้านบาท

การประกอบธุรกิจ
การผลิตรายการโทรทัศน์ โดยเน้นรายการประเภทวาไรตี้ รายการเพื่อเด็กและเยาวชน หรือรายการปกิณกะบันเทิง ซึ่งเป็นรายการที่รวบรวมความบันเทิง ในรูปแบบต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการ ของผู้ชมกลุ่มเป้าหมาย ที่มีความสนใจในรสชาติของรายการแตกต่างกันไป เช่น การแสดงดนตรี สาระน่ารู้ การพูดคุย การสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ เป็นต้น ซึ่งผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ของรายการประเภทนี้ จะครอบคลุมระดับอายุ เพศ วัย ที่ง่ายกว่ารายการประเภทอื่น เพราะเป็นรายการที่มีเนื้อหาสาระง่ายต่อการติดตาม และให้ความบันเทิงกับทุกเพศทุกวัย ซึ่งทางบริษัทฯ จะได้รายรับรายได้จากการขายโฆษณาคั่นในรายการ
รับจัดงาน Public Presentation รับจัดงานแสดงทุกรูปแบบ เช่น งานการประกวด งานเปิดตัวสินค้า การจัดคอนเสิร์ต งานด้านการรณรงค์ต่างๆ ทั้งของภาครัฐ และภาคเอกชน ซึ่งทางบริษัทฯ จะได้รับรายได้จาก
ค่าดำเนินงานดังกล่าว

กิจกรรมนอกเหนือจากการประกอบธุรกิจ
SEARCH ENTERTAINMENT เห็นความสำคัญของกิจกรรมเพื่อประโยชน์และสังคม ด้วยการตั้งทีมฟุตบอลรวมดารา 168 ชั่วโมง ขึ้นในปี 2541 มีประธานในการจัดตั้งคือ คุณธวัชชัย สัจจกุล, ผู้อำนวยการทีมคือ คุณวิบูลย์ ลีรัตนขจร, ผู้จัดการทีมคือ คุณโบ๊ท วิบูลย์นันท์ และคุณเสรี ชัยสงเคราะห์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยเหลือโครงการต่อต้านยาเสพติด และโครงการการกุศลหารายได้ต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคม และเยาวชนในท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งสมาชิกในทีมส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วย ศิลปินดารานักแสดง นักร้อง ที่มีใจรักในกีฬาฟุตบอล และต้องการช่วยเหลือสังคม โดยไม่มีค่าตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น

การเติบโตของ Search Entertainment Co.,Ltd.
SEARCH ENTERTAINMENT

ได้ผลิตรายการโทรทัศน์ให้กับสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อ.ส.ม.ท. ดังมีรายการต่อไปนี้


1.รายการ ร้อยเรื่องเครื่องประดับ ออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา 08.30-09.00 น. ดำเนินรายการโดย
คุณจอนนี่ แอนโฟเน เมื่อปี พ.ศ. 2537 ซึ่งถือเป็นรายการแรกของการเปิดตัวบริษัท เซิร์ช เอ็นเตอร์
เทนเม้นท์ จำกัด (ยกเลิกรายการไปเมื่อปี พ.ศ. 2539)


2.รายการ GOOD MORNING FASHION ออกอากาศทุกอังคาร เวลา 08.30-09.00 น. ดำเนินรายการโดย คุณจริยา แอนโฟเน เมื่อปี พ.ศ. 2537 ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อรายการเป็นรายการ MORNING TALK (ยกเลิกไปเมื่อปี พ.ศ. 2539)


3.รายการ MORNING TALK ออกอากาศทุกอังคาร เวลา 08.30-09.00 น. ดำเนินรายการโดย คุณจริยา แอนโฟเน และคุณโหน่ง วสันต์ อุตมโยธิน (ยกเลิกไปเมื่อปี พ.ศ. 2540)


4.รายการ เอ็มยกกำลัง 3 ออกอากาศทุกวันจันทร์ เวลา 24.00-01.00 น. ดำเนินรายการโดย
คุณวิบูลย์ ลีรัตนขจร, คุณเทพ โพธิ์งาม และคุณโรเจอร์ พานิชกุล เมื่อต้นปี พ.ศ. 2540
(ยกเลิกเมื่อปลายปี พ.ศ. 2540)


5.รายการ โป๊ะแตก ออกอากาศทุกวันจันทร์ เวลา 17.00-17.30 น. ดำเนินรายการโดย คุณหนู เชิญยิ้ม
เมื่อปี พ.ศ. 2539 (ยกเลิกไปเมื่อปี พ.ศ. 2541)


6.รายการ STAR SEARCH ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 08.30-09.00 น. ดำเนินรายการโดย
คุณหัทยา เกษสังข์ เมื่อปี พ.ศ. 2540 (ยกเลิกเมื่อปี พ.ศ. 2542)


7.รายการ YOUR STYLE ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 12.15-12.20 น. เมื่อปี พ.ศ. 2538
ภายหลังย้ายเวลาออกอากาศมาเป็นช่วงเช้า เวลา 08.25-08.30 น. (ยกเลิกไปเมื่อปี พ.ศ. 2543)


8.รายการ TEEN SEARCH ออกอากาศทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.25-08.30 น.
เมื่อต้นปี พ.ศ. 2544 (ยกเลิกไปเมื่อปลายปี พ.ศ. 2544)


9.รายการ ใครคู่ใคร ออกอากาศทุกวันพุธ เวลา 23.30-24.00 น. ดำเนินรายการโดยคุณรวิชญ์ เทิดวงส์ เมื่อปี พ.ศ. 2545 (ยกเลิกไปเมื่อปลายปี พ.ศ. 2545)


10.รายการ NIGHT PET SHOW ออกอากาศทุกวันพุธ เวลา 23.30-24.00 น. ดำเนินรายการโดย
คุณรวิชญ์ เทิดวงส์ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2546 (ยกเลิกไปเมื่อปลายปี พ.ศ. 2546)


11.รายการ ZIGO TIPS ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 17.30-17.35 น. ดำเนินรายการโดย
คุณซิโก้ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2546 (ยกเลิกไปเมื่อเดือนมีนาคม 2547)


12.รายการ MAGIC WOMAN ออกอากาศทุกวันจันทร์ ?วันศุกร์ เวลา 08.30-08.35 น. ดำเนินรายการโดย คุณจอย รินลนี ศรีเพ็ญ (ยกเลิกไปเมื่อเดือนธันวาคม 2547)


13.รายการ 168 ช.ม. ออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา 24.00-01.30 น. ดำเนินรายการโดย
คุณจอนนี่ แอนโฟเน่, คุณวิบูลย์ ลีรัตนขจร, คุณวุฒินันท์ ภิรมย์ภักดี, คุณสมเกียรติ จันทร์พราหม,
คุณสุพจ พงษ์พรรณเจริญ เมื่อปี พ.ศ. 2540 ต่อมาได้เปลี่ยนพิธีกรจาก คุณสมเกียรติ และคุณสุพจน์ เป็นคุณโบ๊ท วิบูลย์นันท์ และย้ายเวลาออกอากาศเป็นทุกวันพุธ เวลา 24.00-01.00 น.
(ปัจจุบันรายการยังออกอากาศอยู่) และในเดือนมิถุนายน 2548 มี รายการเกี่ยว ออกอากาศอาทิตย์สุดท้ายในรายการ 168 ชั่วโมง ดำเนินรายการโดย คุณจอนนี่ แอนโฟเน และคุณโบว์ สุรัตนาวี
(ยกเลิกไปเมื่อเดือนสิงหาคม 2548)


14.รายการ ซ่า เขย่าจอ (The Family) ชื่อเดิม 3 ซ่า Holiday ออกอากาศทุกวันหยุดนักขัตฤกษ์
เวลา 15.30-16.30 น. ดำเนินรายการโดย คุณเทพ โพธิ์งาม, คุณจาตุรงค์ ม๊กจ๊ก, คุณจิ้ม ชวนชื่น
(ยกเลิกไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2549)


15.รายการ 3 ซ่า คาเฟ่ ออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา 16.00 -16.30 น. ดำเนินรายการโดยคุณเทพ โพธิ์งาม, คุณจตุรงค์ ม๊กจ๊ก และคุณจิ้ม ชวนชื่น (ยกเลิกไปเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2549)


16.รายการ HOT SHOT (ช็อตเด็ดคนดัง) ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 23.20-23.50 น. ดำเนินรายการโดย คุณโอ๋ ภัคจิรา วรรณสุทธิ์ (ปัจจุบันรายการยังออกอากาศอยู่)


17.รายการ STAR SPORTS ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 17.30-17.35 น. ดำเนินรายการโดยดารา/นักแสดงที่มีชื่อเสียงทั่วไป (ปัจจุบันรายการยังออกอากาศอยู่)


18.รายการ แก๊งกะจายเสียง ออกอากาศทุกวันอังคาร เวลา 15.45-16.15 น. ดำเนินรายการโดย
น้องแน็ท, น้องโฟกัส และ น้องแจ๊ค (ยกเลิกไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547)


19.รายการ CONCERT คิดถึงแม่ ถ่ายทอดสดทุกวันที่ 12 สิงหาคม ซึ่งปี 49 นี้ เป็น ครั้งที่ 9
โดยนำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายมอบให้สภาสังคมสงเคราะห์ฯ เป็นประจำทุกปี


20.รายการคอนเสิร์ต TV3 สัญจร ออกอากาศเดือนละ 1 ครั้ง เวลา 23.30-01.00 น. ดำเนินรายการโดยคุณวิบูลย์ ลีรัตนขจร และคุณโบ๊ท วิบูลย์นันท์ (ปัจจุบันรายการยังออกอากาศอยู่)


21.รายการช่อง 3 ลูกทุ่งซุปเปอร์ทัวร์ ออกอากาศเดือนละ 1 ครั้ง เวลา 15.00-16.00 น. ดำเนินรายการโดยคุณภุชงค์ โยธาพิทักษ์, คุณอิงคนันท์ มิตรกูล และคุณโบ๊ท วิบูลย์นันท์ (ปัจจุบันรายการยังออกอากาศอยู่)


22 รายการเด็ก เด็ด เด็ด ออกอากาศทุกวันจันทร์ เวลา 16.00-16.30 น. ดำเนินรายการโดยคุณเมจิ พิมพ์อักษิพร วินโกมินทร์


และในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2541 Search Entertainment ได้รับความไว้วางใจจากทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อ.ส.ม.ท. ให้ผลิต รายการวิทยุ 2 รายการ ทางคลื่นวิทยุ FM.89.0 เมกกะเฮิร์ต แฟชั่นเรดิโอ โดยใช้ชื่อรายการดังนี้
1 รายการ 168 ชั่วโมง (ภาควิทยุ) D.J. ดำเนินรายการโดยคุณจอนนี่ แอนโฟเน, คุณวิบูลย์ ลีรัตนขจร และคุณโบ๊ท วิบูลย์นันท์ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 20.30-24.00 น. (ยกเลิกไปเมื่อปี พ.ศ. 2542)


2 รายการ หมีโชว์ มี D.J. ดำเนินรายการโดย คุณโบ๊ท วิบูลย์นันท์ ทุกวันจันทร์ - วันเสาร์ เวลา 23.00-24.00น. (ยกเลิกไปเมื่อปี 2542)


ปัจจุบัน SEARCH ENTERTAINMENT ได้รับความไว้วางใจจากทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
ให้ผลิตรายการโทรทัศน์ และเป็นผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ที่เป็นที่ยอมรับของประชาชนโดยทั่วไป
และเป็นศักยภาพของบริษัทฯ อันประกอบด้วยรายการ


1.รายการ 168 ชั่วโมง ออกอากาศทุกวันพุธ เวลา 24.00-01.00 น. ดำเนินรายการโดยคุณจอนนี่ แอนโฟเน่ คุณวิบูลย์ ลีรัตนขจร คุณวุฒินันท์ ภิรมย์ภักดี และคุณโบ๊ท วิบูลย์นันท์

2.รายการ HOT SHOT ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 23.20-23.50 น. ดำเนินรายการโดย คุณโอ๋ ภัคจิรา

3.รายการ STAR SPORTS ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 17.30-17.35 น.

4.รายการ CONCERT TV 3 สัญจร ออกอากาศเดือนละ 1 ครั้ง เวลา 23.30- 01.00 น. ดำเนินรายการโดย คุณวิบูลย์ ลีรัตนขจร, คุณโบ๊ท วิบูลย์นันท์ และผู้ประกาศข่าวช่อง 3 เวียนสลับกัน

5.รายการ CONCERT คิดถึงแม่ ถ่ายทอดสดทุกวันที่ 12 สิงหาคม ซึ่งปี 51นี้ เป็นครั้งที่ 11 โดยนำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายมอบให้สภาสังคมสงเคราะห์ฯ เป็นประจำทุกปี

6.รายการช่อง 3 ลูกทุ่งซุปเปอร์ทัวร์ ออกอากาศเดือนละ 1 ครั้ง เวลา 15.00-16.00 น.

7.รายการเด็ก เด็ด เด็ด ออกอากาศทุกวันจันทร์ เวลา 16.00 - 16.30 น.

ผลงานอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีการจัดงานด้าน PRESENTATION ต่างๆ ที่ผ่านมาเช่น การเปิดตัวของสินค้า GOLD MASTER, BODY GLOVE, เครื่องสำอางค์ RED EARTH, การจัดการประกวด MISS TEEN THAILAND, นาฬิกา TIMEX, โทรศัพท์มือถือ MAXON, การแข่งขันฟุตบอล ALL STARS & ทีมชาติไทย สนามกีฬาธูปเตย์มี, กิจกรรมรณรงค์การเลือกตั้งของ กกต., กิจกรรมโครงการต่อต้านยาเสพย์ติด
เป็นต้น

Swot

S= Strength มีกิจกรรมและรายการที่มีผู้คนติดตามอย่างต่อเนื่อง
W = Weakness เนื่องจากคนจะจำตัวกิจกรรมและรายการมากกว่าชื่อบริษัท
O = Opportunity พบปะกับผู้คนทั่วประเทศ จึงเป็นโอกาสง่ายที่คนจะรู้จัก
T = Threat คนไม่จดจำชื่อบริษัทหรือผู้ผลิต

3. วัตถุประสงค์

-เพื่อผลิตรายการโทรทัศน์ และรับจ้างจัดงาน Public Presentation

-เพื่อสร้างความบันเทิงแก่ประชาชน

4. กลุ่มเป้าหมายหลัก

ด้านกายภาพ
- ชาย/หญิง
- โสด/สมรส
- ไม่จำกัดอายุ

ด้านจินตภาพ

-ผู้ชอบดูทีวีและฟังวิทยุ

-ผู้ที่ชื่นชอบความบันเทิงด้านต่างๆ

5. Concept

-หาความสุขมาเสิร์ฟถึงบ้านคุณ

6. Support

-เมื่อคุณได้รับชมรายการของ search entertainment คุณจะได้รับความสุขที่เราหามาเสิร์ฟให้ถึงหน้าจอทีวี

7. Mood & tone / Personality

เฮฮา/มีรอยยิ้ม/มีความสุข

วิเคราะห์โฆษณา





ชื่อเรื่อง
- บรีส
เอเจนซี่ โฆษณา LOWE Bangkok, ประเทศไทย
ประธานเจ้าหน้าที่ ที่สร้างสรรค์ :Manson คลินตัน, Dominic Stallard
Copywriter : Somjid Showtika
ผู้อำนวยการบริหารสร้างสรรค์ : Khuyngern Chanwichit
Producer Agency : Saengvichien Nutwithu
ช่างภาพ : Singhasuvich โอ้
เสริมแต่ง : ชิลเฮ้าส์
Designer : Kummontol Thnadech

3.วัตถุประสงค์

เพื่อเป็นการส่งเสริมให้คนรู้จักสินค้า และสรรพคุณของสินค้าชนิดนี้มากขึ้น ว่าดีอย่างไร ใช้แล้วทำให้อยากใส่เสื้อผ้า ซักแล้วผ้าสียังคงสดใหม่เหมือนเดิม
4.กลุ่มเป้าหมายหลัก

-เพศหญิง/ชาย

-บุคคลทั่วไป

5.แนวความคิด

-Colour stays for longer.

6.เหตุผลสนับสนุนแนวความคิด

-ภาพโฆษณาชิ้นนี้สื่อความหมายของตัวสินค้าได้อย่างชัดเจน โดยสื่อชนิดนี้ต้องการบ่งบอกถึงคุณสมบัติของสินค้า

7.อารมณ์และความรู้สึก
-น่ารัก/ผ่อนคลาย/สบาย

หยืดหยุ่น ผ่อนคลาย สบายตัว

8.ผลตอบสนอง
-ดี

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนวโน้มการนำเสนอนิเทศศาสตร์

แนวโน้มการนำเสนอนิเทศศาสตร์

ย้อนหลังกลับไป 10 ปีที่แล้วมีเหตุการณ์บางอย่างที่เราไม่คิดว่าวันนี้จะเกิดขึ้น 10 ปีที่แล้วแม้จะมีโทรศัพท์มือถือใช้ แต่ก็เทียบไม่ได้กับไอโฟน แบล็กเบอรี่ (BlackBerry) ยุคปัจจุบัน

หนังสือพิมพ์โดยเฉพาะฉบับสุดสัปดาห์รูปเล่มที่มีความหนา อัดแน่นด้วยข้อมูลมากมายสำหรับคนที่อยู่กับบ้านในวันหยุด ถึงวันนี้หดเหลือฉบับแท็บลอยด์ จากหนามากๆ เหลือบางนิดเดียว ขณะที่วิถีชีวิตคนรุ่นใหม่ บริโภคข่าวสารทุกๆนาที ผ่านคอมพิวเตอร์ และมือถือ
จินตนาการปฏิรูปสื่อในทศวรรษหน้า สื่อไทยและสื่อระบบโลกจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์ ภาพยนตร์ วิทยุโทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ต

“สื่อสิ่งพิมพ์จะอยู่ได้ต้องมีการนำเสนอเนื้อหาข้อมูลที่มีการวิเคราะห์เจาะลึกเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือขององค์กร สร้างความแตกต่างจากช่องทางการสื่อสารอื่น ขณะที่นิตยสารจะอยู่รอดได้ต้องเน้นด้านสุนทรียภาพ ใช้ภาพออกแบบศิลป์เข้าช่วย สร้างอัตลักษณ์ของคนอ่าน และต้องสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนอ่านบนโลกไซเบอร์ให้มากกว่านี้”

เคยมีผู้เปรียบอำนาจของสื่อสิ่งพิมพ์ เสมือนนายประตูข่าวสารและผู้กำหนดวาระทางสังคม อีก 10 ปี จะมีผู้เล่นหน้าใหม่ๆ กระโดดขึ้นมาบนเวทีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของภาคประชาชนซึ่งสิ่งนี้จะไปลดทอนอำนาจสื่อสิ่งพิมพ์ในการเป็นผู้คัดเลือก และกำหนดวาระข่าวสาร
ยุคทองของสื่อสิ่งพิมพ์ได้ผ่านไปแล้ว แต่ยังไม่ตาย ยังมีการดำรงอยู่ในวงจำกัดที่เล็กลงเรื่อยๆ อีก 10 ปีคนรุ่นอ่านหนังสือพิมพ์เป็นเล่มเป็นฉบับที่พิมพ์ออกมาจะค่อยๆ หดตัวน้อยลงไป

“ไม่ควรไปตกใจหรือกังวลคนจะเลิกอ่านหนังสือพิมพ์ เพราะยังชื่นใจได้ ตราบใดที่คนเลิกอ่านหนังสือเล่ม แล้วหันไปอ่านมอนิเตอร์ มือถือแทน เท่ากับว่าวัฒนธรรมการอ่านยังมีอยู่ เพียงแต่การพิมพ์อาจจะน้อยลง” คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ให้แง่คิดด้านบวก และชี้ให้เห็นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นสำหรับสื่อสิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะเรื่องรายได้ที่ลดลงจากการที่โฆษณาเคลื่อนย้ายไปลงตามช่องทางสื่อใหม่ที่เจาะสู่กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนมากกว่า

อีก3ปี DVD กลายเป็นของเก่า-ล้าสมัย

สำหรับหนังหรือภาพยนตร์ หลายคนคงเคยได้ยินมานานหลายๆ ครั้งว่า “ภาพยนตร์ตายแล้ว หนังไทยตายแล้ว ตายแน่ๆ” แต่ในความเป็นจริงจะเป็นเช่นนั้นหรือไม่ ความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีภาพยนตร์ในอนาคต เริ่มตั้งแต่ระบบดิจิตอลจะเข้ามาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มีการส่งข้อมูลทางดาวเทียมแทนที่ใช้ฟิล์มหรือเทป และเมื่อระบบนี้มีความสมบูรณ์โรงภาพยนตร์จะมีการจัดกิจกรรมอย่างอื่นเข้ามาเสริม เช่น การจัดคอนเสิร์ต ถ่ายทอดสด การประกาศรางวัล การแสดงต่างๆ เป็นต้น

แม้ระบบดิจิตอลจะสามารถลดปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ แต่ระบบดิจิตอลก็มีข้อเสียเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ของระบบนี้ไม่ค่อยเสถียร อีกทั้งมีปัญหาเรื่องการจัดเก็บ ดังนั้นจึงต้องมีการคิดหาวิธีแก้ไขอีกครั้ง ขณะที่เทคโนโลยีด้านที่นั่งแบบ D-Box เป็นที่นั่งแบบเคลื่อนไหวและสั่นสะเทือนไปตามภาพบนจอภาพยนตร์จะกลายเป็นของเล่นชิ้นใหม่ของคนดูหนัง
ส่วนเครื่องเล่นระบบ Blu-ray disc จะเข้ามาแทนระบบ DVDในเมืองไทย อีก 3 ปี จะเห็นชัด DVD กลายเป็นของเก่า ล้าสมัย เหตุที่เครื่องดู Blu - ray disc แพร่หลายเนื่องจากราคาจะถูกลง ประกอบกับคุณสมบัติความละเอียดชัดเจนของภาพและการบรรจุข้อมูลที่มีมากกว่า
มาถึงอนาคต “สื่อวิทยุ-โทรทัศน์ ในทศวรรษหน้า
ความตื่นตัวของประชาชนในการใช้สื่อจะสูงขึ้นมาก คลื่นความถี่ถูกเปิดเสรีเต็มที่ ถูกใช้เต็มที่แทบจะทุกตำบลของประเทศไทย ขณะที่การกระจายความเป็นเจ้าของคลื่นกว้างขวาง ประชาชนมีสื่อกระจายเสียงจำนวนมากให้รับจนเกิดภาวะสื่อสามเส้าคานดุลกันมากกว่าในอดีต
“สื่อกระจายเสียงมีส่วนสนับสนุนการเติบโตทางการเมืองสูง ตามมาด้วยจุดอ่อนมากมาย ขณะที่สื่อที่เกิดขึ้นใหม่จะถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองสร้างความเกลียดชัง ท้าทายระเบียบสังคมในระดับหนึ่ง และเมื่อสื่อกระจายเสียงมีความเป็นธุรกิจสูงเน้นให้ความบันเทิงจึงมีการลดความสำคัญด้านเนื้อหาสาระที่จำเป็นลง ส่วนสื่อการเมืองทำให้ประชาชนแบ่งขั้วเลือกข้างแยกการรับฟังชัดเจนมากยิ่งขึ้น”
คณะกรรมการคปส. เห็นว่า ความขัดแย้งทางการเมืองจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสื่อไทยที่สร้างสรรค์มากขึ้น การพัฒนาไปสู่ระบบดิจิตอลจะช่วยให้การเข้าถึงและการเป็นเจ้าของสื่อกระจายเสียงมีความหลากหลายกระจายตัว คนเข้าถึงได้มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีองค์กรที่กำกับดูแลเกิดขึ้น อย่างคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติช่วยให้การเริ่มต้นนับหนึ่งของการปฏิรูปโครงสร้างสื่อเป็นไปได้ มีการส่งเสริมสื่อชุมชน สื่อสาธารณะ การปิดกั้นข้อมูลข่าวสารและสิทธิเสรีภาพทำได้น้อยลง

เชื่อว่า 10 ปีข้างหน้า ระบบสัมปทานในประเทศไทยจะสิ้นสุดลง และสร้างเงื่อนไขใหม่ๆได้ พร้อมมองว่า องค์กรกำกับดูแลสื่อจะเป็นเจ้าภาพในการส่งเสริมสื่อชุมชน สื่อสาธารณะ ขณะเดียวกันการพัฒนาของเทคโนโลยีจะทำให้คนไร้สิทธิ์ไร้เสียง เช่นคนพิการ เข้าถึงสื่อได้มากขึ้น การปิดกั้น-ข้อมูลข่าวสารและสิทธิเสรีภาพทำได้น้อยลง
เมื่อพูดถึงความเสี่ยงสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ ในทศวรรษหน้า นักกิจกรรมทางสังคมด้านการปฏิรูปสื่อ ไล่เรียงจากที่ได้ศึกษาออกมาให้เห็นถึง 17 ข้อ ตั้งแต่การไร้องค์กรกำกับดูแลอย่างยาวนานทำให้การกำกับอย่างเป็นระบบที่จะเกิดขึ้นโดย กสช. จะเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น, การผูกขาดโครงข่ายการสื่อสารจะเป็นปัญหา, ระบบอำนาจนิยมอุปถัมภ์ ทุนนิยมอภิสิทธิ์ 10 ปีข้างหน้าจะยังคงไม่หายไป ยิ่งสร้างเงื่อนไขความขัดแย้งมากขึ้น, การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจะส่งผลต่อการทำงานสื่อสูงมาก, การพัฒนาบุคลากรที่มีความเท่าทันสื่อ และมีศักยภาพไม่ทันกับเทคโนโลยีและตลาด, สื่อจะทำให้คนเลือกข้างมากขึ้น รวมทั้ง เด็กและเยาวชนจะประสบปัญหาการเลือกรับสื่อหากผู้ปกครองไม่ออกแบบการใช้สื่อของลูกหลานให้ดี เป็นต้น

เทคโนโลยีก้าวกระโดดเสียบปั๊กใช้เน็ตได้

สุดท้ายหลายคนจินตนาการอยากเห็นอินเทอร์เน็ตจะได้รับความนิยมแพร่หลายจนเป็นเหมือนสาธารณูปโภค จินตนาการอินเทอร์เน็ตในทศวรรษหน้า อินเทอร์เน็ตจะแพร่หลายไปเรื่อยๆ ซึ่งจะแพร่หลายจะไปถึงได้ถ้าเกิด Inernet on Power line หรือเทคโนโลยีการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้าเกิดขึ้น สามารถเข้าถึงทุกครัวเรือน หากตรงนี้ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ ก็จะทำให้เทคโนโลยีก้าวกระโดดแน่นอน
ขณะที่ช่องว่างเรื่องภาษากับการใช้อินเทอร์เน็ตก็ยังไม่หมดไป “การที่เราเห็น แปลข้อความ หน้าเว็บไซต์กูเกิล นั้นก็ยัง แปลแบบใช้การไม่ได้ การที่จะหวังให้เทคโนโลยีทำเรื่องแบบนี้ ยังไม่เกิดขึ้นเร็ว สิ่งเหล่านี้คือปัจจัยที่ทำให้คนไทยจำนวนมากยังไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้”

เปรียบการใช้และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เหมือนการสังเคราะห์วัตถุดิบที่มีประโยชน์มาปรุงอาหารใหม่ ที่ทำอย่างไรให้อร่อยมากขึ้นมีคุณค่ามากขึ้น พร้อมตั้งคำถามว่า เมื่ออินเทอร์เน็ตไปถึงบ้าน รถไฟฟ้าไปหาคุณแล้วจะใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ "การใช้อินเทอร์เน็ต ( internet literacy) ไม่ใช่เรื่องยาก หลายคนใช้ได้โดยไม่รู้ตัว เด็กใช้กันเป็น เรื่องยากอยู่ที่ภาษา และนำความรู้ไปใช้ (information literacy)เป็นเรื่องยากกว่า"